กระดูกเป็นอวัยวะที่สำคัญของเราทุกคน เมื่อวัยล่วงเลย มีอายุมากขึ้น ความเสื่อมก็เกิดขึ้นกับทกๆ อวัยวะในร่างกาย กระดูกเองก็เช่นกัน มีความเสื่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา ยิ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ ยิ่งเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นโรคที่เรียกว่าโรคกระดูกพรุน โรคนี้มีลักษณะอย่างไรส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่มีการสูญเสียของมวลกระดูก เนื่องจากมีการทำลายกระดูกมากขึ้น แต่สร้างกระดูกน้อยลง ทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกมีความเปราะ บาง ไม่สามารถรับน้ำหนักของตัวเราได้ เสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่าย
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว โรคนี้จะไม่มีการแสดงอาการ เหมือนกับโรคกระดูกอื่นๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม หรือกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งจะมีอาการปวดหรือขัด โดยอาจจะพบโรคเหล่านี้ร่วมกับโรคกระดูกพรุนได้
ควรตรวจโรคกระดูกพรุนเมื่อไร
การจะเข้ารับการตรวจว่าเกิดโรคกระดูกพรุนหรือไม่นั้น อาจจะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคนี้ ความเสี่ยงดังกล่าวได้แก่
- หญิงที่หมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
- เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบจาก SLE
- การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม
- การขาดวิตามินดี
- ผู้สูงอายุ เพศหญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป เพศชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
- มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือเป็นกรรมพันธุ์
- ขาดการออกกำลังกาย
- รูปร่างผอม น้ำหนักตัวน้อย
- สูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟมากเกินไป
- ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ
ตรวจโรคกระดูกพรุนอย่างไร
การจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่นั้น ต้องทำการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mineral density) หรือที่เรียกอย่างย่อว่า BMD ด้วยเครื่อง DXA และทำการตรวจเลือดวัดปริมาณแคลเซียมในเลือด เพื่อประเมินความแข็งแรงของกระดูก
การตรวจวัดค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกจะรายงานออกมาเป็นค่า T Score ใช้เพื่อประเมินวิธีการรักษา โดยค่า
- T Score มากกว่าหรือเท่ากับ -1 ถือว่า ปกติ
- T Score ต่ำกว่า – 1 แต่มากกว่า -2.5 เกิดภาวะกระดูกบาง (osteopenia)
- T-score น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5 เกิดภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis)
การรักษา
แนวทางการรักษาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- การรักษาด้วยยา
- การรักษาโดยการผ่าตัด
ยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์ดังนี้ คือ
- ยายับยั้งการสลายกระดูก (Anti-resorptive agents)
- ยากระตุ้นการสร้างกระดูก (Bone forming agents)
- ยายับยั้งการสลายและกระตุ้นการสร้างกระดูก (Dual action agents)
การใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุนต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก หรือกระดูกหักซ้ำ
อาหารที่สามารถป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
ได้แก่
- อาหารที่แคลเซียมสูง เช่น นม นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ผักใบเขียว เช่นคะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ถั่วพู บล็อคเคอรี่ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง กุ้งฝอย
- อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่แดง รำข้าว ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
- อาหารที่มีแมงกานีสสูง เช่น ผักใบเขียวและผลไม้ หอยนางรม ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเม็ดอบแห้ง แอปเปิล บลูเบอรี่
โรคกระดูกพรุนนั้นเป็นโรคที่เราไม่ค่อยจะให้ความสำคัญ เนื่องจากจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมาให้เราเห็น จนเมื่อกระดูกของคุณเริ่มบางและแข็งแรงน้อยลง และหากหกล้มอาจจะทำให้มีกระดูกหักได้ง่าย ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิตอย่างมาก ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพกระดูกของเราให้แข็งแรง อย่าปล่อยให้เป็นโรคกระดูกพรุน เสี่ยงที่กระดูกจะแตกหักง่ายนะครับ
ดูแลสุขภาพครับ
ดูแลกระดูกและข้อด้วยมาจิคัสบอนด์ นวัตกรรม Hybrid Formula ที่ผสมผสานน้ำมันงาดำสกัดเข้มข้นจากไร่งาดำออร์แกนิค ในระดับความเข้มข้นที่ลดการปวด อักเสบ พร้อมแร่ธาตุสำคัญจำเป็นต่อการสร้างกระดูก จำเป็นต่อการสร้างกระดูก ทั้ง Calcium, Zinc, Magnesium, Manganese, และ Phosphate
ข้อมูลเพิ่มเติมมาจิคัสบอนด์ คลิก https://magicusbond.com/
โปรโมชั่น คลิก https://magicusbond.com/product/
ปรึกษาเภสัชกร/ผู้เชี่ยวชาญ คลิก https://lin.ee/C7zQyxQ
คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ทุกช่องทาง